วิเคราะห์ผู้เข้าชม Website (Visitor)

วิเคราะห์ผู้เข้าชม Website   (Visitor)


ส่วนหนึ่งของการทำ Online Marketing คือการวิเคราะห์ผู้เข้มชม Website นั่นเอง  เหมือนกับการทำ Marketing ทั่วไปที่จะต้องศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค

อะไรจะเกิดขึ้นหากคุณทราบว่าผู้เช้าชม website เข้ามาดูสินค้าใดในหน้า website ของคุณมากที่สุดหรือน้อยที่สุด  คำตอบก็คือ เมื่อคุณทราบคุณจะสามารถปรับปรุงพัฒนาสินค้าและทำการตลาดได้อย่างมีทิศทางมากขึ้น

การวิเคราะห์ผู้เข้าชมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งหากคุณต้องการทำกิจกรรมการตลาดด้วยอินเทอร์เน็ต (Online Marketing) เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ผู้เข้าชม Website ที่นิยมมากที่สุดคือ Google Analytics เป็น Tools ฟรี และมีคุณภาพ เพียงติดตั้งรหัสของ Google Analytics ในเว็บไซต์ของคุณ ก็สามารถ Track ผู้เข้าชมเว็ปไซต์ได้ตามต้องการ

การดูข้อมูลผู้เข้าชม webstie  หลักๆ มีดังนี้


1. Location   จะดีแค่ไหนถ้าคุณรู้ว่าคนที่เข้าชม website ของคุณ หรือผู้ที่จะมาเป็นลูกค้าคุณในอนาคตนี้ อยู่ที่จังหวัดใดบ้าง
วิเคราะห์ Location


     จากรูปแสดงให้เห็นว่า คนจังหวัดกรุงเทพฯ สนใจสินค้าของคุณมากที่สุด ดังนั้นหากคุณจะทำการตลาด จัด Promotion ต่างๆ  หากสามารถกำหนดระบุพื้นที่ที่จะทำการตลาดได้ ก็จะสามารถประหยัดงบประมาณการโฆษณาของคุณได้มากเลยทีเดียว หรือหากต้องการลงทุนเพิ่มขยายตลาด คุณก็สามารถตั้งเป้าหมายพื้นที่การตลาดได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้น


2. News vs Returning  คือข้อมูลที่บอกว่าในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ  website ของคุณมีผู้เข้าชมใหม่ๆ  หรือผู้เข้าชมที่เคยเข้ามาแล้วกลับมาเข้า website คุณอีก

วิเคราะห์การเข้าชม website  (Visit) 
โดยทั่วไปแล้วเราจะชอบ่่ให้ Returning Visitor มีค่ามากขึ้นหรือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะหมายถึง ผู้เข้าชม website หรือลูกค้า กลับเข้ามาใช้บริการซ้ำอีก  แสดงให้เห็นว่าติดใจข้อมูลใน website ต้องการหาข้อมูลหรือต้องการซื้อซ้ำ หากเป็นเช่นนี้เราอาจจะลดงบประมาณโฆษณา

แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจของคุณด้วย เช่น website รับซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า New Visitor ย่อมมีค่ามากกว่า Returning แน่นอน

3 Frequency & Recency  หรือความถี่ & ความใหม่  เป็นการวัดระดับความสนใจของผู้ใช้ Website คุณ ใน ช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ

      3.1 Frequency

ความถึ่ในการเข้าชม website ต่อ คน
ตัวอย่างจากภาพด้านบนแสดงให้เห็นว่าในช่วงระยะเวลา 30 วัน  มีผู้เข้าชม website ไม่ซ้ำกัน  49,000  คน   ความถึ่ในรอบ 30 วัน มีผู้กลับเข้าชม website  1 ครั้ง เป็นจำนวน  34,332 คน  หรือคิดเป็น 70%  ,  เข้าชม website 9-14 ครั้ง  เป็นจำนวน 948 คน

     3.2  Recency


ความถึ่ในการเข้าชม website ต่อ วัน
ตัวอย่างภาพด้านบนแสดงให้เห็นว่า  ในช่วงระยะเวลา 30 วัน  มีผู้เข้าชม website ไม่ซ้ำกัน  49,000  คน   มีถึง 40,942  คน ที่เข้าชม ณ วันนั้นและไม่กลับมาชมอีก,  เวลาผ่านไป 8-14 วัน มีผู้กลับเข้ามาชม website เป็นจำนวน 1,044 คน  (ซึ่งน้อยมาก)

หากผู้เข้าชมเข้ามาที่ website แต่ไม่ได้กลับมาอีกครั้ง อาจจะเป็นไปได้ที่คุณทำการตลาดไปยังผู้ชมผิดประเภท หรือเนื้อหาและการออกแบบยังไม่ดึงดูดเพียงพอหรือเข้าถึงได้ยาก  


Engagement  หรือความผูกพันธ์ เป็นการวัดประสิทธิภาพของ Web page กับ ผู้เข้าชม  


    4.1 Visit Duration  ระยะเวลาการเข้าชม




ระยะเวลาการเข้าชม website (Visit Duration)


 จากภาพด้านบน  ในช่วงระยะเวลา 30 วัน มีผู้เข้าชม Website 51,911  visitor แต่มีถึง 31,849 visitor ที่เปิดเข้าชมแล้วออกจาก website ใน 10 วินาทีแรก  หรือคิดเป็น 55% เลยทีเดียว  มี 6,087 Visitor ที่เข้ามาดู 2-3 นาที  และ 6,290 Visitor ที่ใช้เวลาดู webpage  3- 10 นาที 


       4.2   Page Depth  จำนวนหน้า web ที่เปิดชม


จำนวนหน้าเว็บที่่เปิดชม  (Page Depth)


จากภาพด้านบน  ในช่วงระยะเวลา 30 วัน มีผู้เข้าชม Website 51,911  visitor แต่มีถึง 31,051 visitor ที่เข้ามาเปิดแค่ webpage หน้าเดียวแล้วปิด  (ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูล Visit Duration)  และมี  6,471 Visitor ที่เข้ามาเปิด 2 Page แล้วปิด     


ทั้งนี้การวิเคราะห์จำนวนหน้า web ที่เปิดเข้าชมจะขึ้นอยู่กับประเภทและวัตถุประสงค์ของ website นั้นๆ  เช่น การวัด Page Depth  มีผู้เข้า website จะเปิดจำนวนหน้า web มากๆ อาจวิเคราะห์ได้ว่ามีผู้สนใจหาสินค้าหรือสนใจเนื้อหาบน web จนเปิดหลาย Page   หรืออาจจะวิเคราะห์ได้ว่า การวางโครงสร้าง link ของ website ยังไม่ดีพอ ทำให้ผู้ใช้ต้องเปิดหาข้อมูลหลายๆ หน้า


สรุป

การวิเคราะห์ผู้เข้าชม website จะทำให้ทราบว่า คนที่เข้าชม website เราอยู่ที่จังหวัดใดบ้าง  , เป็นผู้เข้าชมหน้าเก่าหรือหน้าใหม่ , ความถี่ในการเข้ามาชม website เป็นอย่างไร , Visitor ส่วนใหญ่ใช้เวลาชม web page กี่นาที และจำนวนหน้าที่เปิดชม webpage เป็นเท่าไหร่   


ผลจากการวิเคราะห์จะช่วยให้เราทราบทิศทางมากขึ้นว่าเป็นไปตามที่คุณตั้งเป้าหมายทางการตลาดไว้หรือไม่  และยังเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงพัฒนา website  ของคุณอีกด้วย  นั่นก็หมายถึงคุณจะมีผู้เข้าชมมากขึ้น โอกาสทางการขายและรายได้ย่อมเกิดมากขึ้นด้วย